วันอาทิตย์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2554

บทที่ 4 องค์ประกอบสำคัญของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว

         
แหล่งท่องเที่ยว สถานที่ที่มีศักยภาพในการดึงดูดให้นักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวหรือประกอบกิจกรรมต่างๆ เพื่อสนองตอบต่อจุดประสงค์ด้านความพึงพอใจ หรือด้านนันทนาการ อาจเป็นสถานที่ใดที่หนึ่งเฉพาะ หรือหลายๆ ที่ก็ได้ มีทั้งที่มนุษย์สร้างขึ้น หรือเป็นแหล่งธรรมชาติ
ทรัพยากรทางการท่องเที่ยว (Tourism Resources) หมายถึง สิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติหรือสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น ทั้งที่อยู่ในรูปธรรมและนามธรรม ซึ่งมนุษย์สามารถนำมาใช้ประโยชน์เพื่อการพักผ่อนหย่อนใจและประกอบกิจกรรมนันทนาการ อันนำมาซึ่งความพึงพอใจและความสุขในรูปแบบต่างๆ ได้

จุดหมายปลายทาง (Destination)
หมายถึง สถานที่ที่ใดที่หนึ่ง อาจจะเฉพาะเจาะจง หรืออาจจะเป็นสถานที่ ทั่วๆไป หรืออาจเป็นหลายๆ สถานที่ ต่อการเดินทางครั้งหนึ่ง

สิ่งดึงดูดใจทางการท่องเที่ยว (Tourist Attraction)
หมายถึง สถานที่ที่มีศักยภาพในการดึงดูดให้ผู้คนเดินทางเข้าไปเยี่ยมชม หรือประกอบกิจกรรมเพื่อให้ได้รับความพึงพอใจ

ประเภทของแหล่งท่องเที่ยว
Scope ขอบเขต
- Primary Destination
- Secondary Destination
Owner ความเป็นเจ้าของ
- Government
- Non Profit Organization
- Private
Permanency ความคงทนถาวร
- Sites
- Festivals or Events
Drawing Power ศักยภาพในการดึงดูดนักท่องเที่ยว
การแบ่งประเภทแหล่งท่องเที่ยว ตามการแบ่งของ ททท.

          แหล่งท่องเที่ยวประเภทธรรมชาติ คือสถานที่ที่เกิดเองตามธรรมชาติทั้งทางด้านชีวภาพและกายภาพ รวมทั้งบริเวณที่มนุษย์เข้าไปปรุงแต่งเพิ่มเติมจากสภาพธรรมชาติในบางส่วน ทรัพยากรประเภทนี้ไม่ต้องมีต้นทุนทางการผลิต แต่ยังคงต้องมีต้นทุนในการรักษาดูแล อาทิเช่น ป่าไม้ เขื่อน ภูเขา น้ำตก ชายหาด ทะเล และเกาะแก่งอุทยานแห่งชาติ(NationalPark) อุทยานแห่งชาติทางบก อุทยานแห่งชาติทางทะเล วนอุทยาน (Forest Park)

แหล่งท่องเที่ยวประเภทมนุษย์สร้างขึ้น ประเภทที่มนุษย์สร้างขึ้น ได้แก่ ศาสนสถาน โบราณสถาน โบราณวัตถุ และสิ่งก่อสร้างอื่น ๆ โดยมีวัตถุ ประสงค์ในการสร้าง และอายุ รวมทั้งรูปแบบสถาปัตยกรรมที่แตกต่างกันไป แต่ท้ายที่สุดก็กลายเป็น ทรัพยากรอันมีค่าทางการท่องเที่ยวของประเทศ
กรมศิลปากรได้แบ่งโบราณสถานออกเป็น 7 ประเภทได้แก่

- โบราณสถานสัญลักษณ์แห่งชาติ คือ สถานที่ที่มีความสำคัญสูงสุด หากชาติขาดซึ่งโบราณสถานนี้ไปจะเป็นการสูญเสียอย่างใหญ่หลวง

- อนุสาวรีย์แห่งชาติ คือ อนุสรณ์ที่ได้สร้างเพื่อบุคคลหรือเรื่องราวสำคัญยิ่งในประวัติศาสตร์หรือเป็นที่เคารพอย่างสูงในชาติซึ่งประชาชนจะต้องร่วมรำลึกถึงด้วยกัน


- อาคารสถาปัตยกรรมแห่งชาติ คือ อาคารสิ่งก่อสร้างทางสถาปัตยกรรมและวิศวกรรมอันทรงไว้ซึ่งคุณค่าอย่างสูงทางศิลปะ อันแสดงถึงการประดิษฐ์คิดค้นใหม่ๆ ในยุคอดีตที่มีผลต่อการดำเนินชีวิตในปัจจุบันหรือเกี่ยวพันกับบุคคลสำคัญหรือเหตุการณ์สำคัญของชาติ


- ย่านประวัติศาสตร์ คือ พื้นที่ที่มีความหนาแน่นทางสถาปัตยกรรมเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ การวางผังเมือง และสภาพแวดล้อมที่สร้างขึ้น โดยมีอาคาร สิ่งก่อสร้าง ถนนหนทางและองค์ประกอบอื่นๆ ในพื้นที่รวมอยู่ด้วย ทำให้พื้นที่นั้นจัดอยู่ในลักษณะต่อไปนี้ ย่านประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม ย่านประวัติศาสตร์การพาณิชย์ ย่านประวัติศาสตร์อุตสาหกรรมย่านประวัติศาสตร์ท้องถิ่นย่านโบราณคดี


- อุทยานประวัติศาสตร์แห่งชาติ หมายถึงพื้นที่ที่มีเนื้อหาทางประวัติศาสตร์ องค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมและวิศวกรรมรวมกับสภาพแวดล้อมทั้งที่เกิดเองตามธรรมชาติและที่มนุษย์สร้างขึ้น อันทำให้สาระทางประวัติศาสตร์ยังคงดำรงไว้ได้

- นครประวัติศาสตร์แห่งชาติ คือ หมายถึง เมืองหรือนครที่มีแบบอย่างทางวัฒนธรรม การวางผังเมือง สาระสำคัญทางประวัติศาสตร์ และองค์ประกอบของเมือง สถาปัตยกรรม วิศวกรรม และชีวิตความเป็นอยู่

- ซากโบราณสถานและแหล่งโบราณคดีประวัติศาสตร์แห่งชาติ หมายถึง แหล่งโบราณคดีประวัติศาสตร์และซากโบราณสถานซึ่งเป็นหลักฐานแสดงถึงประวัติศาสตร์อันสำคัญยิ่งของชาติในอดีต

แหล่งท่องเที่ยวประเภทศิลปวัฒนธรรม ประเพณีและกิจกรรมของผู้คนในท้องถิ่น
"วัฒนธรรม" หมายถึง "แบบอย่างหรือวิถีการดำเนินชีวิตของชุมชนแต่ละกลุ่ม เป็นตัวกำหนดพฤติกรรมการอยู่ร่วม กันอย่างปกติสุขในสังคม" วัฒนธรรมแต่ละสังคมจะแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับข้อจำกัดทางภูมิศาสตร์ และทรัพยากร ต่างๆ ลักษณะอีกประการหนึ่งของวัฒนธรรมคือ เป็นการสั่งสมความคิด ความเชื่อ วิธีการ จากสังคมรุ่นก่อน ๆ มีการเรียนรู้ และสามารถถ่ายทอดไปยังรุ่นต่อๆ ไปได้ วัฒนธรรมใดที่มีรูปแบบ หรือแนวความคิดที่ไม่เหมาะสม ก็อาจจะเลือนหายไป วัฒนธรรมที่เป็นแนวความคิด ความเชื่อ เป็นนามธรรมล้วน ๆ แต่เพียงอย่างเดียว ไม่ถือว่าเป็น ทรัพยากรทางการท่องเที่ยว วัฒนธรรมที่เป็นรูปธรรมเท่านั้น จึงจะสามารถพัฒนาให้เป็นจุดสนใจของนักท่องเที่ยวได้

มรดกโลก(WorldHeritage)ในประเทศไทยมรดกโลกในประเทศมี5แห่งด้วยกันคือ
ทุ่งใหญ่ห้วยขาแข้ง ได้รับการประกาศเป็นมรดกโลกเมื่อปี ค.ศ. 1991


อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ปี ค.ศ. 1991


อุทยานประวัติศาสตร์อยุธยา ปี ค.ศ. 1991
 


แหล่งขุดค้นโบราณคดีบ้านเชียง ค.ศ. 1992
 

ดงพญาเย็น-เขาใหญ่ ปี ค.ศ. 2005
 



ที่มาจาก:
-หนังสือเอกสารคำสอนวิชาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวม.ธุรกิจบัณฑิตย์
- Power Point อ. พิทยะ ศรีวัฒนสาร

วันพุธที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2553

EduFest @ DPU มหกรรมการเรียนรู้ สู่การปฏิบัติ

         
          มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ตระหนักถึงความสำคัญของการศึกษา เนื่องจากการศึกษาเป็นพื้นฐานสำคัญในการดำรงชีวิต มหาวิทยาลัยจึงพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้งตลอดระยะเวลากว่า 40 ปีทั้งด้านคุณภาพการเรียนการสอน อาคารเรียนและอาคารปฏิบัติการที่ทันสมัย รวมทั้งสิ่งอำนวยความสะดวกในรูปแบบที่เอื้อประโยชน์ต่อนักศึกษาอย่างสมบูรณ์แบบ ภายใต้สภาวะแวดล้อมที่สวยงามและร่มรื่น เพื่อพัฒนาและเสริมศักยภาพนักศึกษาให้สำเร็จการศึกษาเป็นบัณฑิตที่มีความสามารถและความพร้อมในการก้าวสู่การทำงานในสภาพแวดล้อมปัจจุบันที่มีการแข่งขันสูงขึ้น
          ในปี 2551 นี้ มหาวิทยาลัยฯ จึงจัดกิจกรรม ที่ตอบสนองความต้องการด้านการรับรู้ข้อมูลข่าวสารของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย เพื่อเป็นประโยชน์ในการตัดสินใจศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา ภายใต้ชื่อ " EduFest @ DPU มหกรรมการเรียนรู้ สู่การปฏิบัติ" ครั้งที่ 1 โดยเปิดโอกาสให้แต่ละคณะนำเสนอผลงานด้านวิชาการ รางวัลที่นักศึกษาได้รับทั้งระดับมหาวิทยาลัย และระดับประเทศ และกิจกรรมที่ส่งเสริมการเรียนรู้ ศักยภาพและความสามารถของนักศึกษา รวมทั้งแสดงผลงานทางวิชาการและงานวิจัยของอาจารย์ที่ได้รับการยอมรับในแวดวงวิชาการทั้งในประเทศ และต่างประเทศ ผ่านการจัดนิทรรศการ การเสวนา การอบรมเชิงปฏิบัติการ การสาธิต เกมส์ ฯลฯ เพื่อให้ผู้ร่วมงานได้สนุกกับการเรียนรู้ การทดลองปฏิบัติจริง และกิจกรรมที่หลากหลายภายในงาน ซึ่งจากการจัดงาน 2 ปีที่ผ่านมา มีจำนวนนักเรียนสนใจเข้าร่วมกิจกรรมเป็นจำนวนมากกว่า18,000 คน 
            สำหรับในปี 2553 นี้มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ได้จัดงาน" EduFest @ DPU มหกรรมการเรียนรู้ สู่การปฏิบัติ" ครั้งที่3 ขึ้นในเดือน พฤศจิกายน โดยมีรูปแบบกิจกรรมที่หลากหลาย และสนุก น่าสนใจมากขึ้น โดยมุ่งหวังว่า นอกจากจะเป็นการนำความรู้ที่มีประโยชน์มาสู่กลุ่มเป้าหมายแล้ว กิจกรรมนี้จะช่วยสร้างความประทับใจ และความใกล้ชิดกับสถาบันแห่งนี้มากยิ่งขี้น
















วันอังคารที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

บทที่ 3 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเดินทางของนักท่องเที่ยว

แรงจูงใจทฤษฎีต่างๆเกี่ยวกับแรงจูงใจของนักท่องเที่ยว


1. ทฤษฎีลำดับขั้นแห่งความต้องการจำเป็น (Hierarchy of needs)

     Maslow กล่าวว่า มนุษย์เป็นสัตว์ที่มีความต้องการ และมนุษย์จะแสดงพฤติกรรมต่างๆเพื่อที่จะสนองตอบความต้องการนั้น และความต้องการของมนุษย์ไม่มีวันจบสิ้น เมื่อความต้องการอย่างหนึ่งได้รับการตอบสนองแล้ว ความต้องการอีกระดับหนึ่งก็จะเกิดขึ้นมาแทนที่ แนวคิดนี้ถูกนำเสนอเป็นปิระมิด 5ชั้น คือ ความต้องการทางด้านสรีระวิทยา ความต้องการความมั่นคงปลอดภัยในชีวิต ความต้องการด้านสังคม ความต้องการที่จะมีเกียรติยศชื่อเสียงและความต้องการความสำเร็จแห่งตน

2. ทฤษฎีขั้นบันไดแห่งการเดินทาง (Travel Career Ladder)

     Philip Pearce ประยุกต์จากทฤษฎีลำดับขั้นแห่งความต้องการจำเป็นของ Maslow แต่ความแตกต่างอยู่ตรงที่ในลำดับขั้นที่1 หรือความต้องการทางสรีระวิทยา ถึงขั้นที่4 หรือความต้องการเกียรติยศชื่อเสียงนั้น ในแต่ละขั้นเกิดขึ้นทั้งจากบุคคลเป็นผู้กำหนดเอง และมีอีกส่วนหนึ่งเป็นการชักนำหรือกำหนดโดยผู้อื่น ยกเว้น ความต้องการในขั้นสูงสุดหรือความต้องการความสำเร็จแห่งตน(ความต้องการที่จะได้รับความพึงพอใจสูงสุด) เป็นขั้นที่เกิดจากความต้องการของตัวบุคคลเป็นผู้กำหนดเอง


3. แรงจูงใจวาระซ่อนเร้น (Hidden Agenda)ของ Cromton
     แรงจูงใจของนักท่องเที่ยวเป็นแนวคิดที่เป็นแบบลูกผสมระหว่างแนวคิดทางจิตวิทยา ผสมกับแนวคิดทางด้านสังคมวิทยา แรงจูงใจของนักท่องเที่ยวจึงหมายถึงเครือข่ายทั้งหมดของพลังทางวัฒนธรรมและพลังทางชีววิทยา(Network) ซึ่งเป็นตัวกำหนดพฤติกรรมทางการท่องเที่ยว

มี 7ประเภท ดังต่อไปนี้
1. การหลีกหนีจากสภาพแวดล้อมที่จำเจ
2. การสำรวจและการประเมินตนเอง
3. การพักผ่อน
4. ความต้องการเกียรติภูมิ
5. ความต้องการที่จะถอยกลับไปสู่สภาพดั้งเดิม
6. กระชับความสัมพันธ์ทางเครือญาติ
7. การเสริมสร้างการปะทะสังสรรค์ทางสังคม

แรงจูงใจในการท่องเที่ยวในทัศนะของ Swarbrooke
     1. แรงจูงใจทางด้านสรีระวิทยาหรือทางกายภาพ
     2. แรงจูงใจทางด้านวัฒนธรรม
     3. การท่องเที่ยวเพื่อตอบสนองอารมณ์ความรู้สึกบางอย่าง
     4. การท่องเที่ยวเพื่อให้ได้มาเพื่อสถานภาพ
     5. แรงจูงใจในการพัฒนาตนเอง
     6. แรงจูงใจส่วนบุคคล


แนวโน้มของแรงจูงใจของนักท่องเที่ยวPearce, Morrison และ Rutledge ได้นำเสนอแรงจูงใจของนักท่องเที่ยว 10 ประการ ดังต่อไปนี้
1. แรงจูงใจที่จะได้สัมผัสสิ่งแวดล้อม
2. แรงจูงใจที่จะได้พบปะกับคนในท้องถิ่น
3. แรงจูงใจที่จะเข้าใจวัฒนธรรมท้องถิ่นและประเทศเจ้าบ้าน
4. แรงจูงใจที่จะสร้างเสริมสัมพันธ์ภาพภายในครอบครัว
5. แรงจูงใจที่จะได้พักผ่อนในสภาพแวดล้อมที่น่าสบาย
6. แรงจูงใจที่จะได้ทำกิจกรรมที่นักท่องเที่ยวสนใจและฝึกทักษะ
7. แรงจูงใจที่จะมีสุขภาพดี
8. แรงจูงใจที่จะได้รับการคุ้มกันและความปลอดภัย
9. แรงจูงใจที่จะได้รับการยอมรับนับถือและได้รับสถานภาพทางสังคม
10. แรงจูงใจที่จะให้รางวัลแก่ตัวเอง

โครงสร้างพื้นฐานในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว

     หมายถึง องค์ประกอบพื้นฐานในการรองรับการท่องเที่ยวทั้งระบบ ถือเป็นส่วนในการสนับสนุนให้การท่องเที่ยวสามารถดำเนินไปได้ด้วยดี และทำให้เกิดความสะดวกรวดเร็วในการดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับการท่องเที่ยว ได้แก่ ระบบไฟฟ้า ระบบประปา ระบบสื่อสารโทรคมนาคม ระบบการขนส่ง และระบบสาธารณสุข

1. ระบบไฟฟ้า
- มีใช้อย่างเพียงพอ ทั่วถึง และใช้การได้ดี
- เตรียมอุปกรณ์สำหรับปั่นไฟไว้ให้เพียงพอ
- กำหนดเวลาปิด-เปิดไฟฟ้า เพื่อประหยัดพลังงาน
- มีการวางแผนการใช้ไฟฟ้าอย่างเหมาะสม
- ปฏิบัติอย่างเคร่งครัด
2. ระบบประปา
- มีความสะอาด
- ถูกหลักอนามัย
- มีปริมาณเพียงพอ
- มีการกระจายอย่างทั่วถึง


 

3. ระบบสื่อสารโทรคมนาคม
- โทรศัพท์มีสาย ไร้สาย ไปรษณีย์ โทรเลข E-mail
- สะดวก รวดเร็ว
- มีหน่วยบริการที่เพียงพอ และกระจายอย่างทั่วถึง

 

4. ระบบการขนส่ง

- ทางอากาศ ควรจัดให้มีเส้นทางการคมนาคมภายในประเทศครอบคลุมทุกพื้นที่ที่มีแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ ควรพยายามเชื่อมโยงเส้นทางการบินอย่างทั่วถึง และควรพัฒนาให้มีความเชื่อมโยงกับระบบคมนาคมอื่นๆ ในส่วนของท่าอากาศยานควรจัดสร้างในพื้นที่ที่มีแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ มีมาตรฐานในการจัดการ และง่ายต่อการเข้าถึง ควรจัดสร้างให้มีความสะดวกสบาย มีสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน เช่น ร้านอาหาร ร้านขายของที่ระลึก ร้านให้เช่ารถยนต์ เป็นต้น




- ทางน้ำ หมายถึง เส้นทางเดินทางทางน้ำ ควรพัฒนาเส้นทางเดินทางท่องเที่ยวทางน้ำให้มีความเหมาะสมกับแหล่งท่องเที่ยว และสภาพกายภาพของเส้นทางน้ำต่างๆ และควรพัฒนาให้มีความเชื่อมโยงกับระบบคมนาคมอื่นๆ นอกจากนั้น ควรจัดให้มีท่าเรือที่ได้มาตรฐานในบริเวณพื้นที่แหล่งท่องเที่ยวสำคัญ และท่าเรือควรง่ายต่อการเข้าถึง ควรจัดสร้างให้มีความปลอดภัยสูงและมีความสะดวกสบาย มีสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน เช่น ร้านอาหาร ร้านขายของที่ระลึก ร้านให้เช่าอุปกรณ์ดำน้ำ เป็นต้น


5. ระบบสาธารณสุข
- ทันสมัย สะดวก รวดเร็ว และปลอดภัย
- ควรมีสถานพยาบาลใกล้กับแหล่งท่องเที่ยว
- มี่ความพร้อมในการเตรียมยาหรือการรักษาอาการบาดเจ็บ
ปัจจัยที่ส่งเสริมการท่องเที่ยวในแต่ละภูมิภาค
-ปัจจัยทางภูมิศาสตร์ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ และเป็นปัจจัยที่สร้างสรรค์ภูมิทัศน์ที่เป็นสิ่งดึงดูดใจทางการท่องเที่ยว
-ลักษณะภูมิประเทศ เป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลก ที่ไม่เท่ากันในแต่ละภูมิภาค ลักษณะภูมิประเทศจึงแตกต่างกัน ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงจากภายในเปลือกโลก ทำให้เกิดภูเขา การเปลี่ยนแปลงบริเวณผิวโลก ทำให้เกิด เนินทราย เป็นต้น
-ลักษณะภูมิอากาศ เป็นผลมาจากสถานที่ตั้งของแต่ละภูมิภาคที่อยู่ตามเส้น ละติจูดที่แตกต่างกัน ทำให้ภูมิอากาศมีความแตกต่างกัน

-ปัจจัยทางวัฒนธรรม ความแตกต่างทางวัฒนธรรมของแต่ละภูมิภาค ย่อมเป็นสิ่งดึงดูดใจทางการท่องเที่ยวได้เช่นกัน

ที่มาจาก :
- หนังสือเอกสารคำสอนวิชาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ม. ธุรกิจบัณฑิตย์
- Power Point อ. พิทยะ ศรีวัฒนสาร
 
- ทางบก หมายถึง เส้นทางถนนและเส้นทางรถไฟต่างๆ ซึ่งควรจัดให้มีครอบคลุมทุกพื้นที่ที่มีแหล่งท่องเที่ยว ละมีความเชื่อมโยงกันให้มากที่สุด รวมทั้งต้องให้มีความเชื่อมโยงกับระบบคมนาคมอื่นๆด้วย สภาพของถนนและรางรถไฟต้องมีคุณภาพดี เหมาะสมกับท้องถิ่น และมีการบำรุงรักษาอย่างสม่ำเสมอ นอกจากนั้น ควรมีการจัดสร้างสถานีขนส่งหรือสถานีรถไฟฟ้าที่มีมาตรฐานสากล ง่ายต่อการเข้าถึง

วันจันทร์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

บทที่ 2 ประวัติศาสตร์การท่องเที่ยวจากยุคเริ่มต้นถึงช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2

          การศึกษาเรื่องประวัติศาสตร์ของการท่องเที่ยวเป็นสิ่งที่จำเป็นและเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจเกี่ยวกับธุรกิจทางด้านการท่องเที่ยว เนื่องจากมีบทเรียนจากประวัติศาสตร์มากมายที่จะต้องจดจำและสามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้กับการท่องเที่ยวในปัจจุบัน สิ่งหนึ่งที่ไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปจากอดีตการท่องเที่ยวในอดีตเมื่อ 3 พันปีก่อน ก็คือ ในปัจจุบันมีการจัดให้บริการสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆแก่นักเดินทาง ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของที่พัก การให้บริการด้านอาหาร มัคคุเทศก์ และร้านขายของที่ระลึก เช่นเดียวกันกับในอดีต จะต่างกันก็เพียงแต่มาตรฐานและความสะดวกสบาย ซึ่งในปัจจุบันมีความทันสมัยมากกว่าแต่ก่อน
วิวัฒนาการของการท่องเที่ยว

                                                   

- อาณาจักร บาบิโลน ( Babylonian Kingdom) และ อาณาจักรอิยิปต์ (Egyptian Kingdom)
- การจัดตั้งพิพิธภัณฑ์โบราณวัตถุ ( Historic Antiquities) 2600 ปีมาแล้วในอาณาจักรบาบิโลน
- มีการจัดงานเทศกาลทางด้านศาสนา มีการพบหลักฐานจากข้อความที่นักเดินทางเขียนไว้ที่ผนัง หรือ  สิ่งก่อสร้างอื่นๆ
- นักเดินทางที่มีความสำคัญ ซึ่งอาจเรียกได้ว่าเป็นนักเขียนเกี่ยวกับการเดินทางคนแรกของโลกก็ว่าได้ มีชื่อว่า “HERODOTUS” - มัคคุเทศก์ในสมัยก่อนคริสตกาล แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ Periegetai(คอยต้อนฝูงนักท่องเที่ยวให้เข้ากลุ่ม) และ Exegetai(ให้ข้อมูลเพื่อแลกเปลี่ยนกับเงินค่าตอบแทน)




จักรวรรดิกรีกและจักรวรรดิโรมัน

ลักษณะการเดินทางเพื่อการท่องเที่ยวสมัยกรีก
- เป็นการปกครองแบบนครรัฐ (City State) ทำให้ไม่มีผู้นำสั่งการให้สร้างถนน จึงนิยมเดินทางทางเรือ
- สถานที่ที่เชื่อว่าเป็นที่สิงสถิตของเทพเจ้า
- เดินทางเพื่อแสวงหาความรู้ เนื่องจากสมัยกรีกนี้มีนักปราชญ์เป็นจำนวนมาก อาทิ อริสโตเติล พลาโต โซเครติส
- เพื่อการกีฬา โดนเฉพาะในกรุงเอเธนส์
- เมื่อมีการเดินทาง ทำให้เกิดการสร้างที่พักแรมระหว่างทาง เกิดขึ้น ซึ่งเป็นเพียงแค่ห้องนอนแคบๆ เท่านั้น


ลักษณะการเดินทางเพื่อการท่องเที่ยวสมัยโรมัน
- ได้รวบรวมจักรวรรดิกรีก เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักร และได้นำเอาวัฒนธรรม ธรรมเนียม ความหรูหราต่างๆ ไปพัฒนาเป็นแบบโรมัน
- สมัยโรมันเป็นสมัยที่การท่องเที่ยวรุ่งเรืองที่สุดในยุคโบราณ จนมีนักวิชาการปัจจุบัน กล่าวว่า แม้ว่าชาวโรมันจะมิใช่ชาติแรกที่เดินทางไปเยี่ยมชมสถานที่ต่างๆ เพื่อความเพลิดเพลินก็ตาม แต่ชาวโรมันก็เป็นชนชาติแรกที่แท้จริงที่สร้างวัฒนธรรมการท่องเที่ยวระบบมวลชนเป็นครั้งแรก” (Mass Tourism)
- ชาวโรมันนิยมเดินทางไปชมความสำเร็จของวิทยาการของกรีก อนุสาวรีย์ต่างๆ รูปแกะสลัก ตลอดจนงานเทศกาล
-โครงสร้างพื้นฐานถูกสร้างขึ้นอย่างเป็นระบบ ทั้งถนนหนทาง ที่พักแรม (Inns) ร้านอาหาร ตลอดจนการรักษาความปลอดภัย
- ชาวโรมันเป็นนักล่าของที่ระลึกชาติแรกๆของโลก ของที่ระลึกที่เป็นที่นิยมของชาวโรมันโบราณคือ ภาพวาดของจิตรกรที่สำคัญๆ ชิ้นส่วนแขนหรือขาของรูปแกะสลักพวกนักบุญหรือเทพีต่างๆที่ทำจากหินอ่อนหรือสำริด ผ้าไหมจากเอเชีย เป็นต้น
- ความรู้เกี่ยวกับการสร้างถนน ทำให้ชาวโรมันที่เป็นคนชั้นสูงและชั้นกลางได้มีโอกาสเดินทาง และมักเป็นการเดินทางประเภท VFR คือ เยี่ยมญาติและเพื่อนฝูง นอกจากนั้น ยังมีการเดินทางแบบเรือสำราญในหมู่คนที่ร่ำรวยมากๆอีกด้วย
- ชาวโรมันโบราณมีการเขียนคู่มือการท่องเที่ยว ซึ่งเรียกกันว่า “Itineraria”
ยุคกลาง หรือยุคมืด ( Middle Age or Dark Age)


-เป็นช่วงที่เศรษฐกิจตกต่ำ ศาสนาเข้ามามีบทบาทในการกำหนดการดำเนินชีวิตของผู้คน
-วันหยุด (Holy Days) เริ่มเข้ามามีบทบาทมากขึ้น
-คนชั้นกลางและชั้นสูงนิยมเดินทางเพื่อแสวงบุญ ในระยะทางไกลในเมืองต่างๆ ตามหลักฐานที่ปรากฏเป็นนิทานเรื่อง Canterbury’s tales
-การเฟื่องฟูของอาชีพมัคคุเทศก์
ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการ ( Renaissance)
 ลักษณะสำคัญของการท่องเที่ยวในยุคนี้คือ
-เกิดการพัฒนาทางด้านการค้า
-ผู้คนเริ่มใฝ่รู้เกี่ยวกับเรื่องของยุโรปสมัยก่อน โดยเฉพาะชาวอังกฤษที่ร่ำรวย นิยมส่งบุตรชายออกเดินทางไปต่างประเทศพร้อมกับผู้สอนประจำตัว (Travelling Tutors) เป็นระยะเวลา 3 ปี เรียกว่าแกรนด์ทัวร์ (Grand Tour) โดยมีจุดมุ่งหมายที่ประเทศ อิตาลี
-อาจเรียกแกรนด์ทัวร์ว่า เป็นการท่องเที่ยวเพื่อการศึกษาก็ได

สมัยคริสต์ศตวรรษที่ 18-19

-สังคมเริ่มเปลี่ยนจากเกษตรกรรมมาเป็นอุตสาหกรรม เกิดการล่าอาณานิคมขึ้น
-ที่พักแรมได้รับการพัฒนามาตามลำดับ กลายมาเป็นโรงแรม แทนที่ inns ต่างๆ
-การโยกย้ายถิ่นฐาน ไปยังดินแดนใหม่ๆ นอกยุโรป อาทิ ไป อเมริกา
-มีการพัฒนาประดิษฐ์เครื่องจักรไอน้ำ กับเรือกลไฟแบบกังหันข้างผสมใบ ทำให้เกิดการเดินทางได้เร็วขึ้น
-มีการพัฒนากิจการรถไฟ และในปี ค.ศ. 1841 โทมัส คุก ( Thomas Cook) ได้จัดนำเที่ยวทางรถไฟแบบครบวงจรเป็นครั้งแรก ที่อังกฤษ ในขณะที่ เฮนรี เวลส์ ก็จัดกิจการนำเที่ยวขึ้นในอเมริกาเช่นกัน



ยุคศตวรรษที่ 20
-การท่องเที่ยวยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ความสะดวกสบายมีมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการเดินทาง ที่พักแรม เงินตรา เอกสารการเดินทาง
-ผู้คนหันมานิยมการเดินทางด้วยรถยนต์ส่วนตัวมากขึ้น ทำให้การเดินทางด้วยรถไฟลดน้อยลง
-พัฒนาของอุตสาหกรรมการบิน ที่เริ่มขึ้นในยุโรป ปี ค.ศ. 1919 และเริ่มขนส่งผู้โดยสาร ในช่วงหลักสงครามโลกครั้งที่สองเป็นต้นมา
-ช่วงหลังสงครามโลก ผู้คนออกเดินทางท่องเที่ยวเพื่อเยี่ยมชมสถานที่สำคัญทางการสงคราม อาทิ หาดนอร์มังดีที่ฝรั่งเศส


วิวัฒนาการการท่องเที่ยวของไทย

สมัยสุโขทัย

-การเดินทางเป็นไปอย่างอิสรเสรี โดยส่วนมากเป็นไปเพื่อการค้าขาย และทางศาสนา
ส่วนมากเป็นการเดินทางภายในประเทศเท่านั้น
สมัยอยุธยา

เนื่องจากเป็นอาณาจักรใหญ่ และระบบสังคมเป็นแบบ ศักดินา ผู้คนไม่ค่อยมีอิสระในการเดินทางมากนัก นอกจากไปเพื่อการค้าเล็กๆ น้อย ส่วนด้านการเดินทางเพื่อการพักผ่อน ไม่ค่อยปรากฏ เพราะประชาชนส่วนมามีเวลาว่างไม่มากนัก มักจะอยู่กับบ้านมากกว่า
-มีปรับปรุงเส้นทางทางน้ำเพื่อการคมนาคม ตลอดจนเส้นทางทางบก เพื่อความสะดวกสบายทางด้านการค้าเป็นหลัก และเพื่อการเดินทาง
กลุ่มคนที่มีการเดินทางในสมัยอยุธยา มักจะเป็นกลุ่มคนที่อยู่ในชนชั้นปกครอง ตั้งแต่พระมหากษัตริย์ พระบรมวงศานุวงศ์ และบรรดาขุนนางทั้งหลาย ในบางครั้งอาจจะมีไพร่ทาสติดตามไปเพื่อรับใช้เช่นกัน
ในประมาณปี ค.ศ. 1511 โปรตุเกสเป็นชาติตะวันตกชาติแรกที่เดินทางเข้ามายังอาณาจักรอยุธยา ตามมาด้วย ญี่ปุ่น อังกฤษ สเปน ฮอลันดา ฝรั่งเศส

ผลจากการเข้ามาของชาวต่างชาติในสมัยอยุธยา
ทำให้เกิดความเป็นนานาชาติในพระนครศรีอยุธยามากขึ้น ทำให้เกิดการผสมผสานวัฒนธรรม ประเพณีต่างๆ ทั้งของตะวันตก และของไทย ที่น่าสนใจคือ มีบันทึกการเดินทางของชาวตะวันตกที่เขียนเอาไว้เกี่ยวกับ ชีวิตความเป็นอยู่ การเดินทาง สถานที่ต่างๆ ในอาณาจักรอยุธยา แล้วนำกลับไปตีพิมพ์เผยแพร่ที่ตะวันตก ก่อให้เกิดการเดินทางเข้ามายังเอเชีย และอยุธยา มากขึ้น ในฐานะที่อยุธยาเป็นดินแดนของสินค้าของป่า เครื่องเทศ ทรัพยากรธรรมชาติ ที่สามารถสร้างกำไรให้มหาศาลแก่พ่อค้าชาวตะวันตก กล่าวได้ว่าอาณาจักรอยุธยา รุ่งเรืองมากทั้งทางด้านศิลปวิทยากร วัฒนธรรม ประเพณี บ้านเมืองร่ำรวย


ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชมีการแลกเปลี่ยนคณะทูตานุทูตระหว่างอยุธยาและชาติต่างๆ หลายครั้ง วรรณคดีที่เป็นหลักฐานสำคัญที่กล่าวถึงการเดินทางไปยังต่างแดนที่มีเชื่อเสียงคือ นิราศฝรั่งเศสของ โกษาปาน ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์


หลังสมัยสมเด็จพระนารายณ์ การค้าขายติดต่อกับชาติตะวันตกลดน้อยลง หันไปค้าขายกับจีนมากขึ้น และพยายามพัฒนาบ้านเมืองให้เป็นศูนย์กลางของพระพุทธศาสนา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ มีการส่งสมณทูตไปเผยแผ่ศาสนาโดยทั่วไป ที่สำคัญคือ เคยมีการส่งคณะสมณทูตไปยังลังกาทวีป และในลังกาเรียกนิกายสงฆ์ของตนว่า สยามวงศ์อีกด้วย

สมัยธนบุรีและรัตนโกสินทร์

เป็นความพยายามของพระมหากษัตริย์ทั้งสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีและปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี ที่พยายามจะทำฟื้นฟูความเป็นอยุธยาขึ้นมาใหม่อีกครั้ง จะพบว่า โครงสร้างของบ้านเมือง ตลอดจนวัฒนธรรมประเพณีต่างๆ จะคล้ายกับในสมัยอยุธยา

ก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง

- สมัยรัชกาลที่สอง ทรงทำนุบำรุงทางด้านศิลปวัฒนธรรม และพัฒนาด้านการค้าระหว่างประเทศ

- สมัยรัชกาลที่สาม บ้านเมืองเปิดการค้าขายกับต่างชาติ มากขึ้นอีกครั้งหนึ่ง คล้าย ๆ กับสมัยของสมเด็จพระนารายณ์

- สมัยรัชกาลที่สี่ ทรงพยายามทำให้บ้านเมืองมีความทันสมัยตามแบบตะวันตก มีชาวตะวันตกเข้ามาพำนักอาศัยในกรุงสยามเป็นจำนวนมาก มีการสร้างที่พัก ร้านอาหารตามแบบตะวันตกเกิดขึ้นหลายแห่ง

- สมัยรัชกาลที่ห้า ทรงปรับปรุงบ้านเมืองในทุกๆ ด้าน มีการเสด็จประพาสหัวเมืองต่างๆ รวมทั้งต่างประเทศหลายครั้ง ในยุคนี้มีการสร้างทางรถไฟ เรือกลไฟ นับว่าเป็นพื้นฐานสำคัญทางการท่องเที่ยว มีการเลิกทาส เลิกไพร่ ทำให้คนมีเสรีภาพในด้านต่างๆ มากขึ้น มีการออกไปศึกษาต่อต่างประเทศมากขึ้นเช่นกัน
สมัยรัชกาลที่หก มีการปรับปรุงสายการเดินรถไฟ มีการสร้างถนนหนทางเพื่อประโยชน์ในทางการสงคราม ตลอดจนการสร้างโรงแรมอีกด้วย

สรุปแล้ว วิวัฒนาการทางการท่องเที่ยวไทยช่วงก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง จะได้รับการพัฒนาและสนับสนุนจากชนชั้นผู้ปกครอง แล้วค่อยขยายลงสู่ภาคประชาชน

หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475

- สมัยรัชกาลที่เจ็ด เนื่องจากสภาวะบ้านเมืองไม่อยู่ในความสงบและพระองค์ก็มีพระพลานามัยที่ไม่ค่อยแข็งแรงนัก จึงมีการเสด็จประทับตากอากาศบ่อยครั้ง โดยเฉพาะที่หัวหิน ทำให้มีการสร้างทางรถไฟสาย กรุงเทพ-หัวหิน เพื่อส่งเสริมการพักตากอากาศอีกด้วย

- สมัยรัชกาลที่แปด-ปัจจุบัน เนื่องจากเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองมาเป็นประชาธิปไตย เปลี่ยนอำนาจการบริหารประเทศมาอยู่ที่นายกรัฐมนตรี รัฐบาลจอมพล ป. ให้มีการสร้างโรงแรมขึ้นอีก 3 แห่งเพื่อต้อนรับการเข้ามาของนักท่องเที่ยวช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สองอีกด้วย
รัฐบาลไทยขณะนั้นเห็นความสำคัญของการท่องเที่ยว จึงได้มีการจัดตั้งองค์การส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(อสท.) จัดตั้งในปี พ.ศ. 2503 พร้อมกันนั้นก็มีการจัดตั้งบริษัทการบินไทย เพื่อยกระดับการท่องเที่ยวของประเทศไทยอีกด้วย และได้เปลี่ยนมาเป็น การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2522
ที่มาจาก :
- หนังสือเอกสารคำสอนวิชาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ม. ธุรกิจบัณฑิตย์
- Power Point อ. พิทยะ ศรีวัฒนสาร